ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHome
dot
Group Menu
dot
bulletบริการของเรา
bulletสนทนาภาษาดนตรี
bulletสินค้าของเรา
bulletนานาสาระ
dot
Newsletter

dot
bulletgoogle.com
bulletpantip.com
bulletMahidol University
bulletวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
bulletintranet.sasin.edu/thaimusicclub
bullethttps://www.facebook.com/smusichome




โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง article

โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง

กรอบการจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญา

ด้านศิลปะการแสดง

ภาคกลาง

รศ. ณรงค์ชัย  ปิฎกรัชต์

 

กลุ่มศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและขนบธรรมเนียมประเพณี

สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

 

มรดกวัฒนธรรมประเภทนามธรรม

(ตามขอบข่ายเนื้อหาสาระจากการประชุมที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อ 17 ตุลาคม 2541)

1.       มุขปาฐะและการแสดงความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด  รวมถึงภาษาในฐานะพาหะของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

2.       ศิลปะการแสดง

3.       การปฏิบัติทางสังคม  พิธีกรรมและการรื่นเริง

4.       ความรู้และการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

5.       งานฝีมือแบบดั้งเดิม

 

นิยามของศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดง  (Performing)

การแสดงออกซึ่งอารมณ์  ความรู้สึก  และเรื่องราวต่างๆ

ประกอบด้วยดนตรี  นาฏศิลป์  และการแสดงประเภทต่างๆ

 

ขอบข่ายของงานศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดงมีขอบข่ายของหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย  ครอบคลุมเนื้อหาสาระ  เป็นการแสดงออกที่สามารถสัมผัสได้ด้วยการดู  การฟัง  การสัมผัส  สะท้อนอารมณ์ความรู้สึก

ศิลปะแสดงบางประเภทเป็นวิถีชีวิตที่สะท้อนด้วยความเชื่อและพิธีกรรม 

                หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย  กำหนดไว้  4  หัวข้อหลัก  คือ 

ดนตรี   การแสดง   ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม  เพลงร้องพื้นบ้าน

ดนตรี

1.        เครื่องดนตรี

2.        วงดนตรี

3.        เพลงและบทร้อง

4.        นักดนตรี / นักร้อง

5.        ช่างทำเครื่องดนตรีและระบบวิธีการผลิต

6.        ประวัติการตั้งคณะ / วงดนตรี

ดนตรีที่บรรเลงในรูปแบบของวงบรรเลง  

ดนตรีในพระราชพิธี ดนตรีพิธีกรรม ดนตรีที่ประสมวงบรรเลงในลักษณะต่าง ๆ ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล เช่น งานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ งานสมโภชเดือนของพระโอรส พระราชโอรส งานทำขวัญนาค งานแต่งงาน งานเฉลิมฉลอง งานทำบุญต่าง ๆ งานสวดพระอภิธรรมศพ  งานฌาปนกิจศพ งานรวมญาติ ฯลฯ

ดนตรีที่เล่นหรือบรรเลงอิสระ

          เป็นดนตรีที่ใช้เพื่อความบันเทิง  หรือเพื่อการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม  เช่น  เปี๊ยะ  จ้องหน่อง (หึน หุน หฺญา จ๊าอื่อ ฯลฯ)  แกฺว เตหน่า  แคนของชนเผ่าที่มีชื่อเรียกต่าง เป่าใบไม้ ฯลฯ

ดนตรีเพื่อการแข่งขัน

เป็นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งที่นำมาใช้แข่งขันเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีของประชาชนในชุมชนต่าง ๆ และมักมีการกำหนดกติกาของการแข่งขัน มีคณะกรรมการพิจารณาผล อาจมีรางวัลมอบผู้ชนะ  ดนตรีลักษณะนี้มีอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ  เช่น   การแข่งตีปืด  การแข่งตีโพน การแข่งตีกลองโพล็ก  การแข่งขันตีกรือโต๊ะ  การแข่งขันกลองยาว  การแข่งขันตีกลองหลวง  การแข่งขันตีบานอ  การแข่งขันเส็งกลอง 

 

การแสดง

1.        ชุดการแสดง

2.        นักแสดง / ศิลปิน

3.        ช่างทำเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง

ศิลปะด้านการแสดงที่ดำเนินเป็นเรื่องเป็นราว

                การแสดงที่เป็นเรื่องเป็นราว  มีองค์ประกอบคือ  ตัวแสดง  มีดนตรี เพลงร้อง บทร้อง เรื่องที่กำหนดแสดง บางลักษณะมีบทละครกำหนดไว้ บางลักษณะเป็นการวางกรอบเนื้อเรื่องเคร่าๆ ใช้การด้นของศิลปิน  มีเวทีแสดง  ฯลฯ  เช่น

                โขน                    หนังใหญ่                 ละคร                   ลิเก                  โขนสด

                หุ่นกระบอก        ละครซอ                  ตุ๊บเก่ง                  มะโย่ง             โนรา

                หนังตะลุง           ลิเกป่า

การแสดงที่ไม่เป็นชุดหรือไม่เป็นเรื่องราวอย่างละคร

                การแสดงลักษณะนี้ มีทั้งชุดการแสดงที่นิยมนำมาร่ายรำกันทั่วไป อาจเป็นชุดแสดงเก่าหรือใหม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการภาคและกรมการจังหวัด การแสดงลักษณะนี้  เช่น

                ฟ้อนเล็บ                                 ฟ้อนเจิง                    ฟ้อนเงี้ยว                รำตรุษ

                ฟ้อนเทียน                              เซิ้งกระติ๊บข้าว           เซิ้งสวิง                  รำคล้องช้าง

                เต้นกำรำเคียว                          รำลาวกระทบไม้        รองเง็ง                   ชุดเต้นต่างๆ

                ระบำชาวบ้าน                          ระบำ  รำต่างๆ            รำวงย้อนยุค

 

ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

เพลงร้องพื้นบ้าน

1.        เพลง

2.        ผู้ร้อง

การร่ายรำ หรือการการแสดงออกด้วยท่าทางอย่างเป็นระบบ ในพิธีกรรม

                การร่ายรำในพิธีกรรมบางอย่างที่สะท้อนวัฒนธรรมประจำถิ่น หรือวัฒนธรรมแบบแผน  ประกอบดนตรี  ประกอบกระบวนการบางกิจกรรม  ที่คณะทำงานพิจารณาว่าเป็นมรดกวัฒนธรรม  มีทั้งท่าทางการร่ายรำ  การขับร้อง  และการบรรเลงดนตรี  เช่น

                ผีมดผีเม็ง                ลำข่วง (เหยา)         ลำผีฟ้า                     พิธีไหว้ครูเจ้า

                ตือรี                         โนราลงครู               พิธีไหว้ครูดนตรี   ฯลฯ

ดนตรี เพลง และการแสดง ของกลุ่มชาติพันธุ์

                ดนตรี เพลง และการแสดง ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีความหลายหลาย  เนื้อหาเหล่านี้ปรากฏในลักษณะของความบันเทิง  พิธีกรรม  และระบบความเชื่อ เช่นกลุ่มชาติพันธุ์

                ไทยใหญ่         ม้ง               เมี่ยน       ลีซอ         ก่อ           กะเหรี่ยง             มูเซอ

                 ลั๊วะ                โซ่ง              อาข่า         พวน       ชาวเล      ภูไทย                  ยอง

                 ชอง                 ซาไก    ตองเหลือง      มอญ       พม่า         ลาว                      เขมร

                 ธิเบต                ญวน         อินเดีย      จีน

ดนตรีประเภทแห่

                ดนตรีประเภทแห่  อาจจะเป็นวงดนตรีที่ทำหน้าที่ 2 อย่าง ก็ได้  คือก่อนแห่มีการนั่งรวมวงบรรเลง เมื่อแห่บางวงอาจมีการฟ้อนนำ ดนตรีประเภทแห่มีทั้งงานมงคล  และงานอวมงคล

                วงกลองยาว             วงต๊กเส้ง  (ตึ่งโนง)             วงกลองก้นยาว            วงแตรวง 

                วงอังกะลุง               วงแคนวง                            วงปี่กลอง                     วงป้าดพื้นเมือง

เพลงขับร้อง  เพลงร้องพื้นบ้าน

                เพลงลักษณะนี้ปรากฏอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ  รวมทั้งกลุ่มชนชาติพันธุ์ด้วย  บางกิจกรรมอาจจะรวมทั้งดนตรี  ขับร้อง  และมีกระบวนการแสดงด้วย

เพลงอีแซว              ลำตัด              เพลงเหย่อย            เพลงรำภา               เพลงขอทาน 

เพลงเรือ      เพลงร่อยพรรษา        เห่เรือ          เพลงนา    เพลงซอ       เพลงระบำบ้านไร่  เพลงเล่นเข้าผี        ดีเกฮูลู             ดาระ             เพลงโลมนางเชือก

เพลงพิษฐาน         เฮ็ดกวาม จ๊อย        เพลงหอมดอกมะไพ              เพลงกล่อมลูก

ทำนองสวด

                ทำนองสวดเป็นรูปแบบหนึ่งของการเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนอง  ข้อมูลทำนองสวดปรากฏอยู่กับนักบวช  หรือศาสนิกของศาสนา  ลัทธิความเชื่อต่างๆ  บางลักษณะเป็นการสวดเล่นของฝ่ายคฤหัสถ์

พระพุทธศาสนา     ;           สวดพระอภิธรรม  สวดทำนองหลวง สวดภาณยักษ์ สวดเบิก เทศน์มหาชาติ  สวดพระมาลัย  (สวดคฤหัสถ์)

ศาสนาอิสลาม         ;           การอ่านพระมหาคัมถีร์กุรอ่าน  การสวดของชาวมุสลิมต่างๆ

ศาสนาคริสต์           ;           การสวดมิซซา  การสวดหรือขับร้องสรรเสริญพระคุณพระเจ้า 

ศาสนาและความเชื่ออื่นๆ ; การขับร้องในพิธีทางศาสนาของศาสนาซิกข์  ศาสนาพุทธมหายานของพระจีน  พระญวน  การสวดของลัทธิความเชื่ออื่นๆ

ช่างทำเครื่องดนตรี

                ช่างทำเครื่องดนตรี  เป็นกลุ่มงานที่สนับสนุนให้เกิดเครื่องดนตรีขึ้น  และส่วนใหญ่ช่างทำเครื่องดนตรีมีความสามารถในด้านดนตรีด้วย 

-          ช่างทำเครื่องดนตรีที่สร้างเครื่องดนตรีเพื่อประกอบธุรกิจโดยตรง

-          ช่างทำเครื่องดนตรีที่สร้างเครื่องดนตรีตามที่ได้รับการร้องขอ/ว่าจ้าง

-          ช่างทำเครื่องดนตรีที่สร้างเครื่องดนตรีไว้ใช้ในกิจกรรมของสังคมหรือสายตระกูลของตน

-          ช่างทำเครื่องดนตรีที่สร้างเครื่องดนตรีตามอิสระ

ช่างทำอุปกรณ์การแสดง

                ช่างทำอุปกรณ์การแสดง  เป็นศิลปินที่สร้างเครื่องแต่งกาย  เครื่องสวมศีรษะ  อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดง  มีการสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม

                ช่างทำหัวโขน                         ช่างทำเครื่องแต่งกายละคร      ช่างทำอุปกรณ์การแสดง

                ช่างแกะหนังใหญ่                   ช่างแกะหนังตะลุง                  ช่างทำเครื่องโนรา 

                ช่างทำชุดกิงกะหล่า                 ฯลฯ

ช่างต่างๆ เหล่านี้มีทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและท้องถิ่นต่างๆ  บางแหล่งดำเนินการในระบบธุรกิจ บางแหล่งทำเพื่อใช้ในวงการแสดง และใช้ในท้องถิ่น หรืออาจทำขึ้นตามความต้องการของผู้ติดต่อ

กิจกรรมการด้านศิลปะการแสดงอื่นๆ

ศิลปะด้านศิลปะการแสดงอื่นๆ ที่ปรากฏในท้องถิ่น ที่คณะกรรมการประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการประจำภาค  สามารถศึกษา สำรวจได้ และพิจารณาว่างานมรดกประเภทนั้นมีความน่าสนใจ  และควรเร่งเก็บข้อมูลไว้  โดยเฉพาะในกลุ่มศิลปินผู้สูงอายุ

ดนตรี เพลง หรือศิลปะการแสดงบางลักษณะเคยรวมอยู่กันเป็นหมู่คณะ แต่ในปัจจุบันหมดความนิยม แต่ยังมีบุคคลที่มีความสามารถอยู่ ควรระดมให้บุคคลเหล่านั้นมารวมตัว และดำเนินการศึกษาข้อมูล  เก็บข้อมูลตามขั้นตอนต่อไป

 

บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกันในโครงการ

1.       สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

2.       สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

3.       คณะนักวิชาการ / กรรมการที่ปรึกษา

4.        กลุ่มบุคคลข้อมูล

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

                เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ         

                รองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

                ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม

                นักวิชาการวัฒนธรรม

                เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

บทบาทและภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

                รับผิดชอบโครงการ               บริหารโครงการ                  จัดสรรงบประมาณ

                 เป็นที่ปรึกษา                        อำนวยการในการทำงานด้านต่างๆ

ประสานงานด้านต่างๆ ช่วยเหลือและเอื้ออำนวยให้แก่คณะทำงานตามกรอบที่ดำเนินการ

                จัดทำระบบฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรม   (เมื่อได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการจังหวัด)

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด  ดำเนินการในรูปของกรรมการประจำจังหวัด  จังหวัดละ 6 - 8  คน  ประกอบด้วย

1.        ประธานคณะทำงาน

2.        ฝ่ายบันทึกภาพเคลื่อนไหว

3.        ฝ่ายบันทึกภาพนิ่ง

4.        ฝ่ายบันทึกเสียง

5.        ฝ่ายเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านสารัตถะและบริบทที่เกี่ยวข้อง

5.1  งานด้านดนตรี                         

5.2  งานด้านการแสดง

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำจังหวัด

1.        สำรวจข้อมูลด้านศิลปะการแสดงในจังหวัดที่รับผิชอบ และพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการจัดเก็บ

2.     จัดส่งข้อมูลที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญแล้วให้คณะกรรมการประจำภาคพิจารณาในภาพรวม  เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลครอบคลุมทุกเนื้อหาและไม่ซ้ำซ้อนกัน

3.        ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลศิลปะการแสดงตามระเบียบวิธีวิทยา

4.        จัดส่งข้อมูลที่ดำเนินการแล้วให้แก่คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภาค

ภารกิจของประธานคณะทำงาน

-          ทำความเข้าใจนโยบาย  กรอบการทำงาน  และกลไกในการทำงาน

-          บริหารแต่ละหัวข้อเนื้องานที่กำหนดไว้ ตามห้วงเวลาที่กำหนด

-          ประชุมคณะทำงานแต่ละฝ่าย

-          แบ่งการทำงานตามลักษณะภารกิจของแต่ละฝ่าย

-       ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด   เจ้าหน้าที่ของอำเภอที่เกี่ยวข้อง อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส  ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ศาสนาจารย์ สงเคราะห์จังหวัด สงเคราะห์ชาวเขา  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษา การติดต่อกับศิลปิน ; นักดนตรี  นักร้อง  นักแสดง  ตลอดจนช่างทำเครื่องดนตรี  ช่างทำอุปกรณ์การแสดง  ฯลฯ

-          ติดตามงานของแต่ละฝ่าย  ให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์

-          ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

-          ตรวจสอบระบบการบันทึกเพื่อการอ้างอิงของกรรมการแต่ละฝ่าย

-          หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องบริหาร

ภารกิจของกรรมการฝ่ายบันทึกภาพนิ่ง

                กรรมการฝ่ายนี้มุ่งบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูป  เช่น

-          ภาพการแสดงของศิลปินนักแสดง  ในอิริยาบทและท่าทางต่างๆ

-          ภาพท่ารำ มุมต่างๆ

-          ภาพเครื่องแต่งกายของนักแสดง

-          ภาพเครื่องดนตรี

-          ภาพการบรรเลงของนักดนตรี

-          ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง        

-          ภาพเครื่องพิธีกรรมและการประกอบพิธี

-          ภาพการปฏิบัติงานของคณะทำงาน

-       ภาพบริบทที่รายรอบ เช่น คนชมการแสดง คนชมการบรรเลง  การล้อมมุงดูการทำงานของคณะทำงาน  โบสถ์  วัด มัสยิด ศาลา หมู่บ้าน ความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน  ป่าไม้  ภาพแผนที่ของชุมชนที่จัดตั้งไว้ในหมู่บ้าน

-          จัดทำระบบการบันทึกเพื่อการอ้างอิง

-          ปฏิบัติตามแนวทางของวิทยากร  หัวข้อ  และเทคนิควิธีการบันทึกภาพนิ่ง

ภารกิจของกรรมการฝ่ายบันทึกภาพเคลื่อนไหว

                กรรมการฝ่ายนี้มุ่งเก็บข้อมูลด้านภาพเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ

-          ภาพระหว่างการแสดงของศิลปิน

-          ภาพระหว่างการบรรเลง  ทั้งการบรรเลงวง  และการบรรเลงเดี่ยว

-          ภาพระหว่างการประกอบพิธีกรรม

-          ภาพระหว่างการปฏิบัติงานของคณะทำงาน  มุมต่างๆ

-          ภาพบริบทที่รายรอบ  เช่นเดียวกับหน้าที่ของคณะกรรมการฝ่ายบันทึกภาพนิ่ง

-          จัดทำระบบการบันทึกเพื่อการอ้างอิง

-          ปฏิบัติตามแนวทางของวิทยากร หัวข้อ เทคนิควิธีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว

ภารกิจของกรรมการฝ่ายบันทึกเสียง

                กรรมการฝ่ายนี้มีหน้าที่บันทึกเสียงการบรรเลง การขับร้อง หรือเสียงที่เกิดจากงานภาคสนาม  เช่น

-          เสียงระหว่างการแสดงและการขับร้องของศิลปิน

-          เสียงที่เกิดจาการไล่เรียงระดับเสียงของเครื่องดนตรี

-          เสียงระหว่างการบรรเลงดนตรีของศิลปิน  ทั้งบรรเลงเป็นวง และเดี่ยว

-          เสียงระหว่างการประกอบพิธีกรรม

-          จัดทำระบบการบันทึกเพื่อการอ้างอิง

-          ปฏิบัติตามแนวทางของวิทยากร  หัวข้อ  เทคนิควิธีการบันทึกเสียง

ภารกิจของกรรมการฝ่ายบันทึกสารัตถะและบริบทที่เกี่ยวข้อง

                ฝ่ายบันทึกข้อมูลนี้มุ่งด้านเนื้อหาสาระที่ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์  และเรียบเรียงข้อมูลออกมาเป็นประเด็นต่างๆ

-          สถานภาพส่วนบุคคลของศิลปิน นักแสดง นักดนตรี นักร้อง ช่าง ฯลฯ

-          เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการแสดง รูปแบบและลักษณะของการบรรเลงดนตรี  บทร้อง  บทละคร  บทหนัง

-          ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งวง คณะ ความเชื่อ  และการประกอบพิธีกรรม

-       จัดทำรายงานผลการเก็บข้อมูลตามสารัตถะที่ได้จากการศึกษาแต่ละครั้ง  และนำข้อมูลระบบการอ้างอิงของงานบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานเอกสาร

-          ปฏิบัติตามแนวทางของวิทยากร  หัวข้อ  เทคนิควิธีการเก็บข้อมูลด้านสารัตถะ

 

กรรมการที่ปรึกษา / คณะนักวิชาการ

                กรรมการที่ปรึกษา  เป็นนักวิชาการของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวัฒนธรรม  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเชิญมาเพื่อร่วมปฏิบัติงานด้านวิชาการ  ข้อจำกัดของนักวิชาการชุดนี้คืออาจจะไม่สามารถร่วมปฏิบัติงานการลงศึกษางานภาคสนามของกรรมการประจำจังหวัดได้ทุกครั้ง  เพราะต่างก็มีงานราชการที่ต้องปฏิบัติในหน้าที่ประจำด้วย

                กรรมการชุดนี้จำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ

                ชุดที่ 1  กรรมการแกนกลาง  เป็นชุดรวมกรรมการโดยมีผู้บริหารของ สวช. เป็นกรรมการที่ปรึกษา  มีประธาน  รองประธาน  กรรมการ  เลขานุการ

                ชุดที่ 2 กรรมการแกนประจำภาค  ทั้ง 4 ภาค  กรรมการชุดนี้แบ่งภารกิจตามภาคต่างๆ

 

คณะกรรมการแกนงาน

  เลขาธิการ สวช.                                                     ที่ปรึกษา

  รองเลขาธิการ สวช.                                              ที่ปรึกษา

  รศ. ณรงค์ชัย  ปิฎกรัชต์                                         ประธานกรรมการ / ภาคใต้

  ผศ. ประสิทธิ์  เลียวสิริพงษ์                                  รองประธาน / ภาคเหนือ

  รศ. กาญจนา  อินทรสุนนานนท์                          รองประธาน /  ภาคกลาง

  รศ. มานพ วิสุทธิแพทย์                                        รองประธาน /  ภาคอีสาน

  ผู้ทรงคุณวุฒิ    17   ท่าน                                        กรรมการ / ประจำภาคต่างๆ

  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมฯ                                 กรรมการและเลขานุการ

  บุคคลากรของสวช.   6   ท่าน                                กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภาคเหนือ

1.        ผศ. ประสิทธิ์  เลียวสิริพงษ์            ประธานที่ปรึกษา

2.        ผศ. ณรงค์ สมิทธิธรรม                   ที่ปรึกษา

3.        ผศ. ประทีป  นักปี่                           ที่ปรึกษา

4.        นายสุรศักดิ์  จำนงค์สาร                  ที่ปรึกษา

5.        นายกิจชัย  ส่องเนตร                      ที่ปรึกษา

6.        นางสาวยุพา  เรืองพุ่ม                      เลขานุการ

คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.        รศ. มานพ  วิสุทธิแพทย์                 ประธานที่ปรึกษา

2.        รศ. ปิยพันธ์  แสนทวีสุข                 ที่ปรึกษา

3.        ผศ. อนรรฆ  จรัณยานนท์               ที่ปรึกษา

4.        นายพีรพงศ์  เสนไทย                     ที่ปรึกษา

5.        นางนรีรัตน์  วิจิตรแก้ว                    ที่ปรึกษา

6.        นายอนุกูล  ใบไกล                          เลขานุการ

7.        ว่าที่ ร.ต. ศักดิ์ชาย  ขาวเหลือง         ผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภาคกลาง

1.        รศ. กาญจนา  อินทรสุนานนท์       ประธานที่ปรึกษา

2.        นายปรเมษฐ์  บุณยะชัย                  ที่ปรึกษา

3.        นางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ                ที่ปรึกษา

4.        ผศ. ณรงค์  เขียนทองกุล                 ที่ปรึกษา

5.        นางสาววราภรณ์  รุจิเพชร์              ที่ปรึกษา

6.        นายอานันท์  นาคคง                       ที่ปรึกษา

7.        นายสุรัตน์  จงดา                             ที่ปรึกษา

8.        นางสุกัญญา  เย็นสุข                      เลขานุการ

9.        นางจันทนา  ศรีเมือง                      ผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภาคใต้

1.        รศ. ณรงค์ชัย  ปิฎกรัชต์                  ประธานที่ปรึกษา

2.        ผศ.คมสันต์  วงค์วรรณ์                   ที่ปรึกษา

3.        นายธรรมนิตย์  นิคมรัตน์              ที่ปรึกษา

4.        นายวาที  ทรัพย์สิน                        ที่ปรึกษา

5.        นางสุนันทา  มิตรงาม                    เลขานุการ

 

วัตถุประสงค์ของโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง

(สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)

1.        เพื่อศึกษา รวบรวม และบันทึกข้อมูล ภูมิหลังภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ

2.        เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพของภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงที่มีอยู่ในปัจจุบัน

3.        เพื่อจัดทำคลังข้อมูลและขึ้นทะเบียนภูมิหลังภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง

4.        เพื่อส่งเสริมสนับสนุนในการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

 

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.        มีหัวข้อสำหรับการลงพื้นที่ภาคสนามชัดเจน

2.        นัดหมายบุคคล  แหล่งข้อมูล

3.        คณะทำงานประชุมวางแผน  เตรียมข้อมูลเบื้องต้น  ซักซ้อมภารกิจ  ตระเตรียมอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย

4.        เข้าพื้นที่ศึกษาในงานภาคสนาม  ปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์

5.        เข้าพื้นที่ซ้ำอีก  กรณีที่ต้องมีการซ่อมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เพิ่มเติม

6.        จัดกระทำกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  เขียนรายงานผลการศึกษา

7.        กรรมการที่ปรึกษาประจำภาค  ตรวจสอบข้อมูล

8.        นำส่งรายงานผลการศึกษาทุกเนื้องาน  ไปยัง สวช.

9.     เมื่อเสร็จสิ้นปีงบประมาณ  สวช. จัดประชุม  เพื่อให้แต่ละจังหวัดนำเสนอผลการศึกษา  ต่อที่ประชุม  รายละเอียดส่วนนี้จะแจ้งข้อมูลภายหลัง

10.     คณะกรรมการแกนกลาง / กรรมการแกนภาค  ร่วมสังเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

11.     นำเสนอข้อมูล  ส่งมอบให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

12.     สวช.  ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรม

 

การนำเสนอรายงานผลการศึกษาภูมิบ้านภูมิเมือง

ด้านศิลปะการแสดง

 

ส่วนงานที่นำเสนอรายงานผล

                การนำเสนอรายงานผลการศึกษา  แต่ละหัวข้อที่ดำเนินการศึกษาแล้ว  ให้นำเสนอเป็นรายงานเอกสาร  ประกอบด้วยข้อมูล  4  ส่วนงาน  คือ

1.        รายงานข้อมูลสารัตถะและบริบทที่เกี่ยวข้อง

2.        รายงานข้อมูลภาพนิ่ง

3.        รายงานข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

4.        รายงานข้อมูลเสียง

                การรายงานควรจัดวางหน้า  และเนื้อความให้เป็นระบบเดียวกัน  เพื่อสะดวกในการจัดทำฐานข้อมูลต่อไป

 

(ปกหน้ารายงาน)

 

รายงาน

การจัดเก็บข้อมูลภูมิหลังภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง

เพลงพื้นบ้านพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี

สำนักงานวัฒนธรรม  จังหวัดกาญจนบุรี

การจัดเก็บข้อมูล  ครั้งที่ 1  (2…3…4…5…6..ฯลฯ)

ระหว่างวันที่  5 -  19  กรกฎาคม  พ.ศ. 2548

 

สารบัญ

บทที่ 1 สังคมและวัฒนธรรมของ……                   (ชุมชนที่ศึกษา)

บทที่ 2  หัวข้อที่ศึกษา                                                             (กำหนดให้สื่อเข้าใจ)

บทที่ 3  ข้อมูลภาพและเสียง

                1.  ข้อมูลภาพนิ่ง    2.  ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว    3.  ข้อมูลเสียง

บรรณานุกรม

บุคลานุกรม / ทำเนียบนามศิลปิน

ภาคผนวก

                อภิธานศัพท์            แผนที่  (นอกเหนือจากในเนื้อหา)            ข้อมูลอื่นๆ

 

สังคมและวัฒนธรรมของบ้านหม่องสะเทอ

1.  ลักษณะทางภูมิศาสตร์

                -  ที่ตั้งของหมู่บ้านหม่องสะเทอ

                -   ลักษณะทางภูมิศาสตร์

                -  แผนที่หมู่บ้านหม่องสะเทอ

2.  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหม่องสะเทอ

-          ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน  ตำนาน  นิทานพื้นบ้าน ชื่อบ้านนามเมือง

-          การปกครอง  ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม

-          ศาสนาความเชื่อ  ประเพณีของหมู่บ้านชุมชน

ภารกิจ  : กรรมการฝ่ายบันทึกข้อมูลสารัตถะและบริบท

 

หัวข้อที่ศึกษา

                หัวข้อที่ศึกษาเป็นเนื้อหาสารัตถะ  ควรกำหนดชื่อและสื่อให้ชัดเจน  เช่น  ดนตรีในพิธีแต่งงานของชาวเมี่ยน  บ้านหนองโป่ง / การแสดงตุ๊บเก่ง คณะยอดศิลป์  กำแพงเพชร  ฯลฯ

                เมื่อศึกษาข้อมูลแล้ว  ให้วิเคราะห์เนื้อหา  ลำดับประเด็นหรือหัวข้อย่อยที่เป็นเนื้อหาสาระ  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างประเด็นของแต่ละหัวข้อที่ศึกษา

ศิลปะการแสดง

-  ประวัติการก่อตั้งคณะ                                          -  ระบบเศรษฐกิจของคณะ

-  ชุดการแสดง  เรื่องที่จัดแสดง                              -  ลักษณะเฉพาะของการแสดง

-  ขนบความเชื่อเกี่ยวกับการแสดง                         -  ความนิยมของประชาชน

-  เนื้อเรื่องที่แสดง  นักแสดง  การฝึกซ้อม             -  การสืบทอดศิลปะการแสดง 

ดนตรี / เพลง / เพลงร้อง

                -  ประวัติการก่อตั้งวงดนตรี  คณะดนตรี

                -  เครื่องดนตรี  (มีการประสมวงอย่างไร) 

                -  เครื่องดนตรี / กายภาพของเครื่องดนตรี

                -  ระบบเสียงของเครื่องดนตรี  ระบบเสียงขับร้อง

                -  บทเพลง ;  ทำนองดนตรี  ทำนองร้อง

                -  บทร้อง  /  คำกลอน / คำซอ / กลอนลำ  ฯลฯ

-    นักดนตรี  นักร้อง  ช่างซอ  หมอแคน  นาย…..

การผลิตเครื่องดนตรี

                -  การก่อเริ่มของแหล่งผลิตเครื่องดนตรี

                -  ระบบเศรษฐกิจ   

                -  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดนตรี

                -  เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต

                -  ขั้นตอนการผลิต

                -  ช่างทำเครื่องดนตรี

                -  ข้อมูลอื่นๆ ที่พิจารณาว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง                            

การผลิตหัวโขน / เครื่องแต่งกาย / อุปกรณ์การแสดง

                -  การก่อเริ่มของแหล่งผลิต...

                -  ระบบเศรษฐกิจ

                -  เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต

                -  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหัวโขน / เครื่องแต่งกาย / อุปกรณ์ฯ

                -  ขั้นตอนการผลิต

                -  ช่างผลิต

                -  ข้อมูลอื่นๆ ที่พิจารณาว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง

พิธีกรรม…ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี  เพลงร้อง  / การร่ายรำ ฟ้อน เต้น

                -  ความหมาย ความสำคัญของพิธีกรรม

                -  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม  เจ้าพิธี - ผู้เข้าร่วมพิธี

                -  ความเชื่อที่เกี่ยวกับพิธีกรรม

                -  ข้อห้าม - ข้อปฏิบัติในพิธีกรรม

                -  เครื่องประกอบพิธีกรรม

                -  ขั้นตอนการประกอบพิธี

                -  ข้อมูลอื่นๆ  ที่พิจารณาว่าเกี่ยวข้อง

ข้อมูลภาพนิ่ง

ข้อมูลนี้กรรมการฝ่ายภาพนิ่งดำเนินการ  และส่งข้อมูลอ้างอิงให้ฝ่ายบันทึกสารัตถะและบริบท

ดนตรีหัวไม้  บ้านบางลูกเสือ                                                  ซีดีแผ่นที่  1 / 2

เนื้อหา  :  ระบุอย่างสังเขปว่าในซีดีแผ่นนี้เป็นกลุ่มภาพอะไรบ้าง

สถานที่บันทึก  บ้านเลขที่…หมู่ที่ 1 บ้านบางลูกเสือ ต..…อ.องครักษ์ จ. นครนายก

วันที่บันทึก  :  วันเสาร์ที่  1 - วันพฤหัสบดีที่ 6  กันยายน  พ.ศ. 2548

ผู้บันทึก      :   นางสาวศรีสมร  อ้อนกลมงาม

สำนักงานวัฒนธรรม  จังหวัดนครนายก

(จำนวนซีดีภาพนิ่ง  2  แผ่น)

ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

ข้อมูลนี้เป็นภารกิจของฝ่ายภาพเคลื่อนไหว  ดำเนินการและส่งไปเข้าระบบการรายงานเอกสาร   ตัวอย่างการนำเสนอรายงาน

การแสดงมะโย่ง  คณะมาดาโอะ  มะอาแซ                            ซีดีแผ่นที่ 1 / 5

เนื้อหา  :  แสดงเรื่องเจ้าหญิงผมหอม

สถานที่บันทึก  ลานหมู่บ้าน  หมู่ที่ 1 บ้านลาเล  ต. ปูโยะ  อ.  สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

วันที่บันทึก  :  วันเสาร์ที่  24 กันยายน  พ.ศ.  2548

ผู้บันทึก  1.  นายสมบัติชาติ  นิยมยินดี

                2.  นางสาวสวยที่สุด  อยู่ในกลุ่ม

สำนักงานวัฒนธรรม  จังหวัดปัตตานี

(จำนวนซีดีภาพเคลื่อนไหว  5  แผ่น)

 

 

บรรณานุกรม

ให้ลำดับตามระบบการทำบรรณานุกรม  การลำดับอักษรดำเนินการตามวิธีของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิยสถาน พ.ศ. 2542

จมื่นอมรดรุณรักษ์  (แจ่ม  สุนทรเวช).  (2514).  พระราชกรณียกิจในพระบาท

                สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เล่ม  9  เรื่องพระราชประเพณี

                ตอน 1.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์. 

ธวัช  ปุณโณทก.  (2528).  วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ.  ใน  เพ็ญศรี  ดุ๊ก

                (บรรณาธิการ).  ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมอีสาน

                (หน้า 350 – 392)  กรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรานี  วงษ์เทศ.  (2533).  เพศและวัฒนธรรม.  นครปฐม:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

                ศิลปากร.

------------. (2534).  พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย.   กรุงเทพมหนคร:

                  อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

บุคลานุกรม / ทำเนียบนามบุคคล

จัดเรียงตามอักษร  ควรนำไว้ต่อจากบรรณานุกรม

ชื่อ - นามสกุล, นาย นาง นางสาว.  ความสามารถ.  วัน เดือน ปีเกิด  สถานที่อยู่ โทรศัพท์  โทรสาร.  วันบันทึกข้อมูล.

ตัวอย่าง

สมพงษ์  รักวัฒนธรรม,  นาย.  นักดนตรี - จยาม.  เกิดเมื่อวันที่  26 มีนาคม  2484  บ้านเลขที่ 3  หมู่ 1 บ้านหม่องสะเทอ  ตำบลหนองลู  อำเภอ สังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี   โทรศัพท์…….บันทึกข้อมูลวันที่  7   สิงหาคม 2548.

ข้อมูลเสียง

                การจัดการข้อมูลเสียง  เป็นภารกิจของฝ่ายบันทึกข้อมูลเสียง  เพื่อนำส่งข้อมูลอ้างอิงให้แกฝ่ายบันทึกข้อมูลสารัตถะ  ตัวอย่าง

ข้อมูลเสียง

                เพลงประกอบการแสดง ลิเกป่า คณะนายปรีชา สมหวังนะ   ซีดีแผ่นที่ 4 /5

                เนื้อหา  :  เรื่องเจ้าชายสายฟ้า

                วันที่บันทึก  :  วันจันทร์ที่ 1  กันยายน  พ.ศ.  2548

                ผู้บันทึก   :  นายประโยชน์  รูปงาม

                สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง

                (จำนวนซีดีเสียง  5  แผ่น)

 ดาวน์โหลดแบบตรวจสอบข้อมูลสารัตถะประเภทดนตรี ›››››p01.jpg

                   แบบตรวจสอบข้อมูลสารัตถะประเภทการแสดงฟ้อนรำ ›››››p02.jpg

                   แบบตรวจสอบข้อมูลสารัตถะประเภทการแสดงเรื่องราว ›››››p03.jpg

                   แบบตรวจสอบข้อมูลสารัตถะประเภทเพลงร้องพื้นบ้าน›››››p04.jpg

                   แบบบัญชีนำส่งภาพนิ่ง›››››p05.jpg

                   แบบบัญชีนำส่งภาพเคลื่อนไหว›››››p06.jpg

                   แบบบัญชีนำส่งข้อมูลเสียง›››››p07.jpg




นานาสาระ

ขิมไทย : ขิมโลก
เขียนโน้ตดนตรีไทย ด้วยโปรแกรม Exel
วิธีการผูกสายขิม article
นัยสำคัญของเพลงพิธีกรรม
ดนตรีในงานประเพณีปอยหลวงที่วัดสันดอนมูล เชียงใหม่
ดนตรีชนเผ่าที่เซกอง ประเทศลาว
เพลงพื้นบ้านบางเลน นครปฐม : พ่อเฒ่าบุญช่วง ศรีรางวัล
ทฤษฎีความสอดคล้องกับการวิจัยขั้นสูง
นัยดนตรีสร้างส่วนสัมพันธ์ของจิตให้สัมบูรณ์
คุณค่าสุนทรียรส และสัจจศิลป์ที่ปรากฏในบทเพลง
ศิลปินบรรเลงเพลงไพเราะยิ่ง
ภวารมณียะ ที่อยู่ในทำนองเพลง
ทฤษฎี 5 เกลียวรู้ : แนวการวิจัยภาคสนาม
บรรเลงเพลงพิธีกรรม
การวิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิก
การเล่นเพลงบรรเลงประโคม
ดนตรีบวงสรวงเทพารักษ์ : เจ้าพ่อขุนทุ่ง
ราชทินนามของนักดนตรีไทย
ภูมิบ้านภูมิเมืองกับการปกป้องมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ISMI : การประชุมดนตรีศึกษานานาชาติ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
การสัมมนาการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย article
การศึกษาดนตรีไทย article
การถ่ายทอดดนตรีในสถานศึกษา article



บ้านดนตรีครูสมชาย 929/12 k akachai Rd., mahachai muang ,samutsakhon 74000. TEL.081-3330147 Copyright © 2015 All Rights Reserved.