ReadyPlanet.com
dot dot
bulletHome
dot
Group Menu
dot
bulletบริการของเรา
bulletสนทนาภาษาดนตรี
bulletสินค้าของเรา
bulletนานาสาระ
dot
Newsletter

dot
bulletgoogle.com
bulletpantip.com
bulletMahidol University
bulletวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
bulletintranet.sasin.edu/thaimusicclub
bullethttps://www.facebook.com/smusichome




การศึกษาดนตรีไทย article

                ดนตรีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ อาจจะเกิดจากการปรบมือ ตีเกราะเคาะไม้ การให้สัญญาณเสียงต่าง ๆ เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการ ดนตรีก็มีพัฒนาการควบคู่กันไป มีการกำหนดลักษณะเฉพาะ มีวิธีการบรรเลงที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของเผ่าพันธ์  มีการสร้างสรรค์ผลงาน และมีการสืบทอดเป็นวัฒนธรรมการดนตรีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

                ดนตรี (Music) รับรู้และสัมผัสได้ด้วยประสาทหู ผู้ฟังต้องมีจินตนาการ (Imagine) ในการฟัง  (เฉลิมศักดิ์  พิกุลศรี, 2530: 1-2) อารมย์ของเสียงดนตรีเป็นนามธรรม เป็นศิลปการรับรู้ของจิตใจผู้ฟัง ผู้ที่จะเข้าถึงมิติของดนตรีได้นั้น   จึงต้องได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องขององค์ประกอบของดนตรี เนื้อหาสาระทางดนตรี และคุณค่าของดนตรี

                ดนตรีไทย (Thai  Music) สันนิษฐานว่ามีความเก่าแก่ย้อนหลังไปถึง  4,000 ปี  สมัยก่อนสุโขทัย ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักรปกครองในระหว่างลุ่มแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำแยงซีเกียง (มนตรี  ตราโมท, 2540: 8)  มีชื่อเรียกว่า  “มุง”  หรือ  “ไอเลา”  มีเครื่องดนตรีคือ ปี่ซอ , กลอง และเครื่องเคาะไม้ที่ทำจากไม้ไผ่   ต่อมาจึงได้จึงได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีอื่น ๆ  เข้ามาตามยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีออกเป็น  2  ประเภทคือ

 

1. เครื่องบรรเลงทำนอง ได้แก่

                เครื่องดีด               เช่น จะเข้  กระจับปี่  ซึง  พิณ  ฯลฯ

                เครื่องสี                  เช่น ซอด้วง   ซออู้   ซอสามสาย  สะล้อ ฯลฯ

                เครื่องตี                  เช่น ระนาด   ระนาดทุ้ม    ฆ้องวงใหญ่    ฆ้องวงเล็ก ฯลฯ

                เครื่องเป่า              เช่น ขลุ่ยเพียงออ   ขลุ่ยหลิบ   ปี่  ฯลฯ

 2. เครื่องประกอบจังหวะ ที่ทำจาก ไม้  หนัง  และโลหะ ได้แก่

                ฉิ่ง     ฉาบ   กรับ   กลอง  และอื่น ๆ

                       

การสืบทอดดนตรีไทย

                ในยุคสมัยแรก ๆ นั้น การถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีไทย  จะอยู่ในรูปแบบของมุขปาฐะทั้งหมด  ซึ่งก็คือการบอกเล่าให้จำ  ทำให้ดูแล้วทำตาม  สังเกต จำแบบ  (ครูพักลักจำ)  และ ฯลฯ สถานที่ให้ความรู้ หรือศูนย์รวมแหล่งความรู้นั้นจะมีอยู่  3  แหล่งหรือ  3  สายด้วยกัน คือ  บ้าน  วัดและ  วัง     ต่อมาเมื่อมีการให้การศึกษาตามอย่างของตะวันตก   สถานศึกษาเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคม  การศึกษาส่งเสริมให้คนรู้จักการเสาะแสวงหาความรู้ และนำความรู้ไปพัฒนาให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ความรู้ต่าง ๆ หลั่งไหลไปรวมศูนย์อยู่ในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน   ทำให้สถาบันวัด และวัง ลดบทบาทจากผู้ผลิตนักดนตรีเป็นผู้บริโภคดนตรี ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในงานพิธี  งานมงคล และงานอวมงคล

การสอนวิชาดนตรีไทย ครูผู้สอนควรทำความเข้าใจในธรรมชาติของวิชา และลักษณะเฉพาะ  ว่ามีเนื้อหาสาระสำคัญอย่างไรบ้าง  เพื่อการวางแผนการสอนให้ครอบคลุมถึงเนื้อหาสาระดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนการสอนวิชาดนตรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงเป้าหมาย ประหยัดทั้งทรัพยากรและเวลา

สมชาย เอี่ยมบางยุง




นานาสาระ

ขิมไทย : ขิมโลก
เขียนโน้ตดนตรีไทย ด้วยโปรแกรม Exel
วิธีการผูกสายขิม article
นัยสำคัญของเพลงพิธีกรรม
ดนตรีในงานประเพณีปอยหลวงที่วัดสันดอนมูล เชียงใหม่
ดนตรีชนเผ่าที่เซกอง ประเทศลาว
เพลงพื้นบ้านบางเลน นครปฐม : พ่อเฒ่าบุญช่วง ศรีรางวัล
ทฤษฎีความสอดคล้องกับการวิจัยขั้นสูง
นัยดนตรีสร้างส่วนสัมพันธ์ของจิตให้สัมบูรณ์
คุณค่าสุนทรียรส และสัจจศิลป์ที่ปรากฏในบทเพลง
ศิลปินบรรเลงเพลงไพเราะยิ่ง
ภวารมณียะ ที่อยู่ในทำนองเพลง
ทฤษฎี 5 เกลียวรู้ : แนวการวิจัยภาคสนาม
บรรเลงเพลงพิธีกรรม
การวิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิก
การเล่นเพลงบรรเลงประโคม
ดนตรีบวงสรวงเทพารักษ์ : เจ้าพ่อขุนทุ่ง
ราชทินนามของนักดนตรีไทย
ภูมิบ้านภูมิเมืองกับการปกป้องมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
ISMI : การประชุมดนตรีศึกษานานาชาติ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง article
การสัมมนาการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย article
การถ่ายทอดดนตรีในสถานศึกษา article



บ้านดนตรีครูสมชาย 929/12 k akachai Rd., mahachai muang ,samutsakhon 74000. TEL.081-3330147 Copyright © 2015 All Rights Reserved.